วิธีการลดภาวะโลกร้อน 10 วิธี

1.ลดการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็นจากเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น แอร์ เครื่องปรับอากาศ พัดลม หากเป็นไปได้ใช้วิธี เปิดหน้าต่าง ซึ่งบางช่วงที่อากาศดี ๆ สามารถทำได้ เช่น หลังฝนตก หรือช่วงอากาศเย็น เป็นการลดค่าไฟ และ ลดความร้อน เนื่องจากหลักการทำความเย็นนั้นคือ การถ่ายเทความร้อนออก ดังนั้นเวลาเราใช้แอร์ จะเกิดปริมาณความร้อนบริเวณหลังเครื่องระบายความร้อน
2.เลือกใช้ระบบขนส่งมวลชน ในกรณีที่สามารถทำได้ ได้แก่ รถไฟฟ้า รถตู้ รถเมล์ เนื่องจากพาหนะแต่ละคัน จะเกิดการเผาผลาญเชื้อเพลิง ซึ่งจะเกิดความร้อน และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ดังนั้นเมื่อลดปริมาณจำนวนรถ ก็จะลดจำนวนการเผ่าไหม้บนท้องถนน ในแต่ละวันลงได้
3.เวลาเดินเข้าห้างสรรพสินค้า หากมีคนเปิดประตูทิ้งไว้ ให้ช่วยปิดด้วยเนื่องจากห้างสรรพสินค้าแต่ละห้างนั้นมีพื้นที่มาก กว่าจะทำให้เกิดความเย็นได้ ก็จะก่อให้เกิดความร้อนปริมาณมาก ดังนั้นเมือมีคนเปิดประตูทิ้งไว้ แอร์ก็จะยิ่งทำงานมากขึ้นเพื่อให้ได้ความเย็นตามที่ระบุไว้ในเครื่อง ซึ่งประตูที่เปิดอยู่จะนำความร้อนมาสู่ตัวห้างเครื่องก็จะทำงานวนอยู่อย่างนั้น ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดความร้อนอีกปริมาณมากต่อสภาพภายนอก
4.พยายามรับประทานอาหารให้หมด เศษอาหารที่เหลือทิ้งไว้จะก่อให้เกิดก๊าซมีเทน ซึ่งก่อให้เกิดปริมาณความร้อนต่อโลก เมื่อหลายคนรวม ๆ กันก็เป็นปริมาณความร้อนที่มาก
5.ช่วยกันปลูกต้นไม้ เพราะต้นไม้จะคายความชุ่มชื้นให้กับโลก และช่วยดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุภาวะเรือนกระจก
6.การชวนกันออกไปเที่ยวธรรมชาติภายนอก ก็ช่วยลดการใช้ปริมาณไฟฟ้าได้
7.เวลาซื้อของพยายามไม่รับภาชนะที่เป็นโฟม หรือกรณีที่เป็นพลาสติก เช่น ขวดน้ำพยายามนำกลับมาใช้อีก เนื่องจากพลาสติกเหล่านี้ทำการย่อยสลายยาก ต้องใช้ปริมาณความร้อน เหมือนกับตอนที่ผลิตมันมา ซึ่งจะก่อให้เกิดความร้อนกับโลกของเรา เราสามารถนำกลับมาใช้เป็นภาชนะใส่น้ำแทนกระติกน้ำ หรือใช้ปลูกต้นไม้ก็ได้
8.ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ที่เคี้ยวเอื้อง เนื่องจากสัตว์เหล่านี้ อุจจาระจะปล่อยก๊าซมีเทนออกมา ดังนั้นอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ประเภทนี้ เมื่อมีจำนวนมากก็จะก่อให้เกิดความร้อนกับโลกเรามาก
9.ใช้กระดาษด้วยความประหยัด กระดาษแต่ละแผน ทำมาจากการตัดต้นไม้ ซึ่งเป็นเสมือนปราการสำคัญของโลกเรา ดังนั้นการใช้กระดาษแต่ละแผ่นควรใช้ให้ประหยัดทั้งด้านหน้าหลัง ใช้เสร็จควรนำมาเป็นวัสดุรอง หรือ นำมาเช็ดกระจกก็ได้ นอกจากนี้การนำกระดาษไปเผาก็จะเกิดความร้อนต่อโลกเราเช่นกัน
10.ไม่สนับสนุนกิจการใด ๆ ที่สิ้นเปลืองทรัพยากรของโลกเรา และควรสนับสนุนกิจการที่มีการคำนึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม

Posted in วิธีการลดภาวะโลกร้อน 10 วิธี | Tagged | Leave a comment

ภาวะโลกร้อน

ภาวะโลกร้อน หมายถึง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ที่ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้น เราจึงเรียกว่า ภาวะโลกร้อน (Global Warming) กิจกรรมของมนุษย์ที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนคือ กิจกรรมที่ทำให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ การเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกโดยตรง เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิง และการเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกโดยทางอ้อม คือ การตัดไม้ทำลายป่า

หากไม่มีการช่วยกันแก้ไขปัญหาโลกในวันนี้ ในอนาคตจะส่งผลกระทบดังนี้
1.ทำให้ฤดูกาลของฝนเปลี่ยนแปลงไป กระบวนการระเหยและการกลั่นตัวจะเร็วขึ้น หมายถึงว่า ฝนอาจจะตกบ่อยขึ้น แต่น้ำจะระเหยเร็วขึ้นด้วย ทำให้ดินแห้งเร็วกว่าปกติในช่วงฤดูกาลเพาะปลูก
2.ผลผลิตทางการเกษตรจะลดลง นอกจากผลกระทบโดยตรงจากอุณหภูมิฝน ช่วงระยะเวลาฤดูกาลเพาะปลูกแล้ว ยังเกิดจากผลกระทบทางอ้อมอีกด้วย คือ การระบาดของโรคพืช ศัตรูพืชและวัชพืช
3.สัตว์น้ำจะอพยพไปตามการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้ำทะเล แหล่งประมงที่สำคัญ ๆ ของโลกจะเปลี่ยนแปลงไป
4.มนุษย์จะเสียชีวิตเนื่องจากความร้อนมากขึ้น ตัวนำเชื้อโรคในเขตร้อนเพิ่มมากขึ้น ปัญหาภาวะมลพิษทางอากาศภายในเมืองจะรุนแรงมากขึ้น

Posted in ภาวะโลกร้อน | Tagged | Leave a comment

มาตรการป้องกันผลกระทบจากการเกิดปรากฎการณ์เรือนกระจก

หลักจากที่เราได้ทราบมูลเหตุแห่งการเกิดปรากฎการณ์เรือนกระจกแล้ว ข้อสรุปที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหา คือ การลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่จะถูกปล่อยออกสู่บรรยากาศให้อยู่ในสัดส่วน และปริมาณที่น้อยที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ การรักษาระดับความหนาแน่นของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศที่ทั่วโลกกำกลังปฏิบัติมีหลายวิธี ยกตัวอย่างเช่น มาตรการของ IPCC (The intergovemental Panel on Climate Change) ซึ่งประมาณการณ์เอาไว้ว่าการรักษาระดับความหนาแน่นของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศให้อยู่ในระดับเดียวกับปัจจุบันจะต้องลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการกระทำของมนุษย์ให้ต่ำลงจากเดิม 6% และได้เสนอมาตรการต่าง ๆ ดังนี้
1.ส่งเสริมการสงวนและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดดังจะยกตัวอย่างในบ้านเมืองของเราก็เช่น การใช้เครื่องไฟฟ้าที่มีสลากประหยัดไฟ หรือการเลือกใช้หลอด ฟลูออเรสเซนต์ ชนิดหลอดผอมเป็นต้น
2.หามาตรการในการลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ เช่น กำหนดนโยบายผู้ทำให้เกิดมลพิษต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการบำบัด ในบางประเทศมีการกำหนดให้มีการเก็บภาษีผู้ที่ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้มากขึ้น ทั้งนี้จะส่งผลต่อการประหยัดพลังงานของประเทศทางอ้อมด้วย
3.เลิกการผลิตและการใช้คลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFCs) รวมทั้งค้นหาสารอื่นมาทดแทนคลอโรฟลูออโรคาร์บอน ในบางประเทศกำหนดให้ใช้ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน(HFCs) แทน สำหรับประเทศไทยของเรามีการส่งเสริมการสร้างค่านิยมในการใช้สเปร์ย และอุปกรณ์ที่อยู่ในประเภทที่ปราศจากคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (Nom-CFCs) เป็นต้น
4.หันมาใช้เชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับค่าพลังงานที่ได้ เช่น การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าของกรุงเทพมหานครจะช่วยลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจากการขนส่งมวลชนในแต่ละวันได้อย่างดีและประสิทธิภาพที่สุด
5.สนับสนุนการวิจัยเกี่ยวกับแหล่งพลังงานทดแทนอื่น ๆ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานนิวเคลียร์ให้เกิดเป็นรูปธรรมและได้รับความเชื่อมั่นจากประชาชนว่าจะไม่ก่อให้เกิดมหันตภัยมวลมนุษย์ชาติดังที่เกิดขึ้นในเชอร์โนบิวล์
6.หยุดยั้งการทำลายป่าไม้และสนับสนุนการปลูกป่าทดแทน สำหรับในประเทศไทยการรณรงค์ในเรื่องการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรตินับเป็นโครงการที่น่าสนับสนุนอย่างสูง
imagesCA9TWPME

Posted in มาตรการป้องกันผลกระทบจากการเกิดปรากฎการณ์เรือนกระจก | Tagged | Leave a comment

ผลกระทบต่อมนุษย์ชาติจากการเกิดปรากฎการณ์เรือนกระจก

จากการคาดการณ์ของนักวิทยาศาสตร์ อุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นถึงแม้การเพิ่มสูงขึ้นจะแสดงออกมาเป็นตัวเลขเพียงเล็กน้อย แต่อาจส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อโลกของสิ่งมีชีวิต เพราะการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกดังที่เกิดขึ้นในปัจจุบันทำให้ความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิบริเวณเส้นศูนย์สูตรกับบริเวณขั้วโลกลดน้อยลงทำให้เกิดความผันผวนขึ้นในอุณหภูมิอากาศของโลก เช่น แนวปะทะระหว่างอากาศร้อนกับอากาศเย็นของลมเปลี่ยนไปอย่างมากเกิดสภาวะความกดอากาศต่ำมากขึ้นทำให้มีลมมรสุมพัดแรง เกิดลมพายุชนิดต่าง ๆ เช่น พายุโซนร้อน ใต้ฝุ่น ดีเปรสชั่นและทอร์นาโดขึ้นบ่อย ๆ หรืออาจเกิดฝนตกหนักผิดพื้นที่สมดุลทางธรรมชาติจะเปลี่ยนแปลงไปทำให้เกิดภัยธรรมชาติ เช่น ดินถูกน้ำเซาะพังทลายหรือเกิดอุทกภัยเฉียบพลัน เป็นต้น
นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังมีความเชื่อว่าหากอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงมาจะทำให้น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกละลาย น้ำในทะเลและมหาสมุทรจะเพิ่มปริมาณและท่วมท้นทำให้เกาะบางแห่งจมหายไป เมืองที่อยู่ใกล้ชายทะเลหรือมีระดับพื้นที่ต่ำเช่น กรุงเทพฯ จะเกิดปัญหาน้ำท่วมขึ้นและถ้าน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกละลายอย่างต่อเนื่อง ก็จะส่งผลให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นอีกสามเมตรหรือมากกว่านั้น ซึ่งหมายถึงอุทกภัยครั้งใหญ่จะเกิดขึ้นในโลกอย่างแน่นอน จากเอกสารของโครงการสิ่งแวดล้อมขององค์การสหประชาชาติได้ประมาณการณ์ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกอาจสูงขึ้น 2 ถึง 4°C และระดับน้ำทะเลอาจสูงขึ้น 20-50 เซนติเมตร ในระยะเวลาอีก 10 – 50 ปีนับจากปัจจุบัน

Posted in การรักษาความสะอาดปากและฟัน, ผลกระทบต่อมนุษย์ชาติจากการเกิดปรากฎการณ์เรือนกระจก | Tagged | Leave a comment

ปรากฎการณ์เรือนกระจก

คำว่า เรือนกระจก (greenhouse) หมายถึง อาณาบริเวณที่ปิดล้อมด้วยกระจกหรือวัสดุอื่นซึ่งมีผลในการเก็บกักความร้อนไว้ภายใน ในประเทศเขตหนาวนิยมใช้เรือนกระจกในการเพาะปลูกต้นไม้เพราะพลังงานแสงอาทิตย์สามารถผ่านเข้าไปภายในได้แต่ความร้อนที่อยู่ภายในจะถูกกักเก็บ โดยกระจกไม่ให้สะท้อนหรือแผ่ออกสู่ภายนอกได้ทำให้อุณหภูมิของอากาศภายในอบอุ่น และเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชแตกต่างจากภายนอกที่ยังหนาวเย็น นักวิทยาศาสตร์จึงเปรียบเทียบปรากฏการณ์ที่ความร้อนภายในโลกถูกกับดักความร้อนหรือก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gases) เก็บกักเอาไว้ไม่ให้สะท้อนหรือแผ่ออกสู่ภายนอกโลกว่าปรากฏการณ์เรือนกระจก
โลกของเราตามปกติมีกลไกควบคุมภูมิอากาศโดยธรรมชาติอยู่แล้ว กระจกตามธรรมชาติของโลก คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และไอน้ำซี่งจะคอยควบคุมให้อุณหภูมิของโลกโดยเฉลี่ยมีค่าประมาณ 15 °C และถ้าหากในบรรยากาศไม่มีกระจกตามธรรมชาติอุณหภูมิของโลกจะลดลงเหลือเพียง -20°C มนุษย์และพืชก็จะล้มตายและโลกก็จะเข้าสู่ยุคน้ำแข็งอีกครั้งหนึ่ง

สาเหตุสำคัญของการเกิดปรากฎการณ์เรือนกระจกมากจากการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกประเภทต่าง ๆ ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ไอน้ำ (H2O) โอโซน (O3) มีเทน (CH4) ไนตรัสออกไซด์ (N2O) และคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFCs) ในส่วนของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะเกิดการหมุนเวียนและรักษาสมดุลตามธรรมชาติ ปัญหาในเรื่องปรากฎการณ์เรือนกระจกจะไม่ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อมนุษย์ชาติโดยเด็ดขาด
แต่ปัญหาที่โลกของสิ่งมีชีวิตกำลังประสบอยู่ในปัจจุบันก็คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่อยู่ในบรรยากาศเกิดการสูญเสียสมดุลขึ้น ปริมาณความเข้มของก๊าซเรือนกระจกบางตัว เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์และคลอโรฟลูออโรคาร์บอนกลับเพิ่มปริมาณมากขึ้น นับตั้งแต่เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม (industrial revolution) หรือประมาณปี พ .ศ . 2493 เป็นต้นมา กิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกมีดังนี้คือ 57% เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิล (น้ำมันเชื้อเพลิง ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ) 17% เกิดจากการใช้สาร คลอโรฟลูออโรคาร์บอน 15% เกิดจากการผลิตในภาคเกษตรกรรม 8% เกิดจากการตัดไม้ทำลายป่า ส่วนอีก 3% เกิดจากการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ
นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกได้ติดตามการเพิ่มขึ้นของปริมาณก๊าซเรือนกระจก โดยการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอันทันสมัย เช่น การใช้ดาวเทียมสำรวจอากาศและสามารถสรุปเป็นตัวเลขออกมาได้ว่าในแต่ละปีสัดส่วนของก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกจากโลกมีสัดส่วนที่แตกต่างกันดังนี้ คือ คาร์บอนไดออกไซด์ 49% อันดับสามได้แก่ มีเทน 18% และอันดับสุดท้ายได้แก่ ไนตรัสออกไซด์ 6% (ตารางที่ 1) แต่ถ้าเทียบกันในระดับโมเลกุล ต่อโมเลกุลแว คาร์บอนไดออกไซด์จะมีผลต่อการตอบสนองในการเก็บกักความร้อนน้อยกว่าก๊าซ 3 ตัวหลังอย่างมาก แต่เนื่องจากปริมาณของคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากกิจกร รมต่าง ๆ ของมนุษย์มีมากที่สุด ดังนั้น หัวใจสำคัญของการแก้ปัญหาจึงต้องมุ่งประเด็นตรงไปที่การลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง ฟอสซิลก่อนเป็นอันดับแรก ต่อจากนั้นจึงค่อยลดและเลิกการใช้คลอโรฟลูออโรคาร์บอนรวมถึงการควบคุมปริมาณของมีเทนและไนตรัสออกไซด์ที่จะปล่อยขึ้นสู่บรรยากาศ

Posted in ปรากฎการณ์เรือนกระจก | Tagged | Leave a comment

การปฏิบัติป้องกันตัวเองจากการเกิดแผ่นดินไหว

ก่อนเกิดแผ่นดินไหว
1. ควรมีไฟฉายพร้อมถ่านไฟฉาย และกระเป๋ายาเตรียมไว้ในบ้าน และให้ทุกคนทราบว่าอยู่ที่ไหน
2. ศึกษาการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
3. ควรมีเครื่องมือดับเพลิงไว้ในบ้าน เช่น เครื่องดับเพลิง ถุงทราย เป็นต้น
4. ควรทราบตำแหน่งของวาล์วปิดน้ำ วาล์วปิดก๊าซ สะพานไฟฟ้าสำหรับตัดกระแสไฟฟ้า
5. อย่าวางสิ่งของหนักบนชั้น หรือหิ้งสูง ๆ เมื่อแผ่นดินไหวอาจตกลงมากเป็นอันตรายได้
6. ผูกเครื่องใช้หนัก ๆ ให้แน่นกับพื้นผนังบ้าน
7. ควรมีการวางแผนเรื่องจุดนัดหมาย ในกรณีที่ต้องพลัดพรากจากกัน เพื่อมารวมกันอีกครั้งในภายหลัง

ระหว่างเกิดแผ่นดินไหว
1.อย่าตื่นตกใจ พยายามควบคุมสติอยู่อย่างสงบ
2.ถ้าอยู่ในบ้านให้ยืนหรือหมอบอยู่ในส่วนของบ้านที่มีโครงสร้างแข็งแรงที่สามารถรับน้ำหนักได้มาก และให้อยู่ห่างจากประตู ระเบียง และหน้าต่าง
3.หากอยู่ในอาคารสูง ควรตั้งสติ และรีบออกจากอาคารโดยเร็วหนีให้ห่างจากสิ่งที่จะล้มทับได้
4.ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้ง ให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้า และสิ่งห้อยแขวนต่าง ๆ ที่ปลอดภัยภายนอกคือที่ โล่งแจ้ง
5.อย่าใช้ เทียน ไม้ขีดไฟ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดเปลวหรือประกายไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วอยู่บริเวณนั้น
6.ถ้ากำลังขับรถให้หยุดรถและอยู่ภายในรถ จนกระทั่งการสั่นสะเทือนจะหยุด
7.ห้ามใช้ลิฟท์โดยเด็ดขาดขณะเกิดแผ่นดินไหว
8.หากอยู่ชายหาดให้อยู่ห่างจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง

หลังเกิดแผ่นดินไหว
1.ควรตรวจตัวเองและคนข้างเคียงว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ให้ทำการปฐมพยาบาลขั้นต้นก่อน
2.ควรรีบออกจากอาคารที่เสียหายทันที เพราะหากเกิดแผ่นดินไหวตามมา อาคารอาจพังทลายได้
3.ใส่รองเท้าหุ้มส้นเสมอ เพราะอาจมีเศษแก้ว หรือวัสดุแหลมคมอื่น ๆ และสิ่งหักพังทิ่มแทงได้
4.ตรวจสายไฟ ท่อน้ำ ท่อแก๊ส ถ้าแก๊สรั่วให้ปิดวาล์วถังแก๊ส ยกสะพานไฟ อย่าจุดไม้ขีดไฟ หรือก่อไฟจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีแก๊สรั่ว
5.ตรวจสอบว่า แก๊สรั่ว ด้วยการดมกลิ่นเท่านั้น ถ้าได้กลิ่นให้เปิดประตูหน้าต่างทุกบาน
6.ให้ออกจากบริเวณที่สายไฟขาด และวัสดุสายไฟพาดถึง
7.เปิดวิทยุฟังคำแนะนำฉุกเฉิน อย่าใช้โทรศัพท์ นอกจากจำเป็นจริง ๆ
8.สำรวจดูความเสียหายของท่อส้วม และท่อน้ำทิ้งก่อนใช้
9.อย่าเข้าไปในเขตที่มีความเสียหายสูง หรืออาคารพัง

Posted in การปฏิบัติป้องกันตัวเองจากการเกิดแผ่นดินไหว | Tagged | Leave a comment

แผ่นดินไหว

เป็นปรากฎการณ์ การสั่นสะเทือนหรือเขย่าของพื้นผิวโลก สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวนั้นส่วนใหญ่เกิดจากธรรมชาติ โดยแผ่นดินไหวบางลักษณะสามารถเกิดจากการกระทำของมนุษย์ได้เช่น การทดลองระเบิดปรมาณู การปรับสมดุลเนื่องจากน้ำหนักของน้ำที่กักเก็บในเขื่อนและแรงระเบิดการทำเหมืองแร่เป็นต้น

Posted in แผ่นดินไหว | Tagged | Leave a comment

การป้องกันน้ำท่วม

– ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา
– ฝึกซ้อมการป้องกันภัยพิบัติ เตรียมพร้อมรับมือ และวางแผนอพยพหากจำเป็น
– เตรียมน้ำดื่ม เครื่องอุปโภค บริโภค ไฟฉาย แบตเตอรี่ วิทยุกระเป๋าหิ้วเพื่อติดตามข่าวสาร
– ซ่อมแซมอาคารให้แข็งแรง เตรียมป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร
– เตรียมพร้อมเสมอเมื่อได้รับแจ้งให้อพยพไปที่สูง เมื่ออยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย และฝนตกหนัก ต่อเนื่อง
– ไม่ลงเล่นน้ำ ไม่ขับรถผ่านน้ำหลากแม้อยู่บนถนน ถ้าอยู่ใกล้น้ำ เตรียมเรือเพื่อการคมนาคม
– หากอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ป้องกันโรคระบาด ระวังเรื่องน้ำและอาหารต้องสุก และสะอาด ก่อนบริโภค

Posted in การป้องกันน้ำท่วม | Tagged | Leave a comment

น้ำท่วม

สาเหตุสำคัญขึ้นอยู่กับสภาพท้องที่ และความวิปริตผันแปรของธรรมชาติแต่ในบางท้องที่ การกระทำของมนุษย์ก็มีส่วนสำคัญ และ เกิดจากมีน้ำเป็นสาเหตุ อาจจะเป็นน้ำท่วม น้ำป่าหรืออื่น ๆ โดยปกติ อุทกภัยเกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน บางครั้งทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม อาจมีสาเหตุจากพายุหมุนเขตร้อน ลมมรสุมมีกำลังแรง ร่องความกดอากาศต่ำมีกำลังแรงอากาศแปรปรวน น้ำทะเลหนุน แผ่นดินไหว เขื่อนพังซึ่งทำให้เกิดอุทกภัยได้ สาเหตุการเกิดอุทกภัยแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ดังนี้
1.จากน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลัน เกิดจากฝนตกหนักติดต่อกันหลายชั่วโมง ดินดูดซับไม่ทัน น้ำฝนไหลลงพื้นราบอย่างรวดเร็ว ความแรงของน้ำทำลายต้นไม้ อาคาร ถนน สะพาน ชีวิต ทรัพย์สิน
2.จากน้ำท่วมขังและน้ำเอ่อนอง เกิดจากน้ำในแม่น้ำ ลำธารล้นตลิ่ง มีระดับสูงจากปกติ ท่วมและแช่ขัง ทำให้การคมนาคมชะงัก เกิดโรคระบาด ทำลายสาธารณูปโภค และพืชผลการเกษตร

Posted in น้ำท่วม | Tagged | Leave a comment

การเตรียมการป้องกันอันตรายจากพายุ

1. ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยาสม่ำเสมอ
2. สอบถาม แจ้งสภาวะอากาศร้อนแก่กรมอุตุนิยมวิทยา
3. ปลูกสร้าง ซ่อมแซม อาคารให้แข็งแรง เตรียมป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร
4. ฝึกซ้อมการป้องกันภัยพิบัติ เตรียมพร้อมรับมือ และวางแผนอพยพหากจำเป็น
5. เตรียมเครื่องอุปโภค บริโภค ไฟฉาย แบตเตอรี่ วิทยุกระเป๋าหิ้วเพื่อติตามข่าวสาร
6. เตรียมพร้อมอพยพเมื่อได้รับแจ้งให้อพยพ

Posted in การเตรียมการป้องกันอันตรายจากพายุ | Tagged | Leave a comment